วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนวันที่4/9/55 ครั้งที่13

นำบรอดที่ทำมาส่งคุณครู
- การทำนิทานทางวิทยาศาสตร์ สื่อ หลายมิติ
- การสอนเริ่มต้นที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยคือการเริ่มต้นต้องเป็นของจริงเพื่อให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
แล้วค่อยเป็นสัณลักษณ์ทางภาษาทางคณิตศาสตร์

งานที่ได้รับมอบหมาย
อาทิตย์หน้าทดลองการทำกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่แต่ละกลุ่มคิดขึ้นมา
เลือกิจกรรมเอา3ฐาน ย่อยออกมาอีกฐานละ3ฐานทั้งหมดเป็น9ฐาน

น้ำ
1. ลาวาแลมป์
2. หวานเย็น

แสง
เช่น แสงเดินทางเป็นเส้นตรง หักเห มีเป็นหลายๆสี
อากาศ

บันทึกการเรียนการสอนวันที่28/8/55 ครั้งที่12

ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ
คุณครูให้ทำบรอดให้เสร็จค่ะ

ผลงาน


ผลงานที่ทำจากการเข้าอบรม






บันทึกการเข้าอบรมวันที่25/8/2555

การอบรมเชิงปฎิบัติการ "การสร้างสื่อประยุกต์"
ณ ห้องประชุมศูนย์ศึกษาพัฒนาครูคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

รูปกิจกรรม

บันทึกการเรียนการสอนวันที่21/8/55 ครั้งที่11

พูดถึงสื่องานกระดาษ(วันเสาร์) 9.00-16.00
ดูพัฒนาการ
ดูสาระที่เหมาะสม มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
แบ่งกันเป็นกลุ่มแล้วศึกษาดูงานที่คุณครูแจกมาให้กลุ่มละเล่ม

1 ใครใหญ่
แนวคิด น้ำจะถูกแทนที่ด้วยขนาดมือของเราเอง
ขั้นตอน 
 - นำขวดแก้วใสมาวางไว้บนกลางโต๊ะ
- เทน้ำใสลงไปให้ได้ครึ่งขวด
- ให้เด็กกำมือตัวเองแล้วหย่อนลงไปทีละคน
- ครูจะทำเครื่องหมายกำกับของทุกคนไว้
- ให้เด้กช่วยสรุปผลจากการทดลอง
สรุปผล ระดับน้ำในขวดแก้วใสจะขึ้นสูงมากกว่าเดิมตามขนาดมือของเด็กแต่ละคน

2 ใบไม้สร้างภาพ
แนวคิด สีจากใบไม้สดสามารถสร้างภาพได้เหมือนจริง
ขั้นตอน 
- เด็กสังเกตลักษณะของใบไม้ที่เก็บมา
- นำกระดาษวาดเขียนมาพับครึ่งแบ่งเป็นสองส่วนเท่าๆกัน
- วางใบไม้ทีละใบระหว่างกระดาษวาดเขียนที่พับไว้
- ใช้ค้อนไม้ค่อยๆเคาะบนกระดาษตรงบริเวณที่มีใบไม้อยู่
- เมื่อเปิดกระดาษวาดเขียนออกให้เด็กๆช่วยกันคิดหาเหตุผล
สรุปผล
1 น้ำสีจากใบไม้สดจะเป็นรูปร่างขึ้นมาบนกระดาษ
2 โครงร่างที่ได้จะได้เหมือนกับไม้ไม้ของจริงที่เป็นต้นแบบ
3 สีจากใบไม้เป็นสีธรรมชาติที่เราจะนำไปทำอะไรได้อีกบ้าง

3 มาก่อนฝน
แนวคิด น้ำเมื่อได้รับความร้อนบางส่วนจะกลายเป็นก๊าซเรียกว่าไอน้ำ
ขั้นตอน 
- นำขวดแก้วที่แช่เย็นเอาไว้โดยให้เด้กบอกความรู้สึกที่สัมผัสได้
- เทน้ำอุ่นใส่ขวดประมาณครึ่งขวด วางก้อนน้ำแข็งไว้บนปากขวด
- เด็กสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
- อาสาสมัครเป่าลมแรงๆเข้าไปในขวดแช่เย็นใบที่สอง
- เมื่อหยุดเป่าจะเห็นฝุ่นเมฆจางๆ
สรุปผล
1 เมฆจะก่อตัวขึ้นจากไอน้ำที่อยู่ในขวดซึ่งควบแน่นเพราะได้รับความเย็นจากน้ำแข็ง
2 กลุ่มเมฆจางๆในขวดเกิดอากาศในขวดขยายตัวและแตกกระจายออกไป
3 สภาพภายในขวดเย็นลงดังนั้นไอน้ำจากลมหายใจจึงควบแน่นกลายเป็นเมฆหรือละออง

4 ทำให้ร้อน
แนวคิด แรงเสียดท้านเป็นแรงเชิงพยายามหยุดการลื่นไหลบนสิ่งต่างๆพลังงานจำเป็นจะต้องเอาชนะแรงเสียดท้านที่เป็นความร้อน
ขั้นตอน 
- ครูแจกดินสอและหนังสือให้เด้กคนละหนึ่งชุด
- ให้เด็กจับดินสอด้วยมือที่ถนัด
- ถูไปมากับสันหนังสือประมาณห้าวินาที
- นำดินสอส่วนที่ได้ถูกับสันหนังสือไปแตะกับผิวหนัง เช่นแขน ริมฝีปาก
- เด้กบอกความรู้สึกจากการสัมผัส
สรุปผล
1 แรงเสียดท้านระหว่างดินสอกับหนังสือทำให้เกิดความร้อน
2 นำส่วนที่ได้ถูกับสันหนังสือมาแตะกับผิวหนังส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะริมฝีปากจะมีความรู้สึกว่าร้อน

งานที่ได้รับมอบหมาย
แบ่งกลุ่มสี่คนเลือกที่เราจดบันทึกมา 1 ตัวอย่าง
คิดในเชิงทดลองคิดกิจกรรม
กิจกรรมกับเด็ก
กิจกรรม
นม+สี+ซันไลท์
วิธีการทดลองคือเทนม ใส่สี แล้วบีบน้ำซันไลท์ลงไป
ผลการทดลองดูจากวีดีโอที่นำลงในการทดลองทางวิทยาศาสตร์